บริบทของพื้นที่
ประวัติความเป็นมาของชุมชน
ตำบลข่องสาริกา เดิมเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา และภูเขาขนาดเล็ก จำนวนมาก เช่น เขาอ้ายก้าน เขาเขียว เขาเอราวัณ และเขาช่องสาริกา โดยเฉพาะเขาอาราวัณซึ่งเป็นเขาหินปูน ในอดีตเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัย เช่น เก้ง กวาง เลียงผา ลิง ชะนี หมู่ป่า ฯลฯ โดยมีช่องเขาแคบ ๆ ระหว่าง เขาช่องสาริกากับเขาเอราวัณเป็นเส้นทางสัญจรไปนี้ไปยังอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (ปัจจุบันคือถนนสาย ๓๓๓๔) บริเวณช่องเขานี้นอกจากจะเป็นเส้นทางหลักในการสัญจรแล้ว ยังเป็นช่องเขาที่นกตระกูล นกสาริกาจำนวนมาก บินไป - กลับ ผ่านบริเวณนี้ โดยตอนเช้าจะบินออกไปหากินทางทิศตะวันตก และบินกลับในตอนเย็น ซึ่งปัจจุบันยังคงบิน ไป-กลับ อยู่เช่นเดิม คนในอดีตจึงเรียกบริเวณนี้ว่า ช่องสาริกา และเป็นที่มาชื่อตำบลช่องสาริกาในปัจจุบัน เมื่อมีชุมชนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินเพิ่มขึ้น จึงได้มีการสร้างวัดสำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนาขึ้น โดยวัดที่อยู่ทางทิศตะวันตกของช่องเขา ชื่อวัดปากช่องสาริกา (นอก) และวัดที่อยู่ทางทิศตะวันออกของช่องเขา ชื่อวัดช่องสาริกาใน และต่อมาชุมชนได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนช่องสาริกา ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ศึกษาของบุตรหลาน ในระยะแรกการดำรงชีวิต มีทั้งหาขอป่า ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ละหุ่ง ถึงลิสง และเลี้ยงสัตว์ การจับจองที่ดินแต่เดิมนั้นชาวบ้านจะถางป่าเพื่อจับจองที่ดินเพื่อเป็นที่สร้างที่พักอาศัยและปลูกพืชไร่ ต่อมาสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม กระทรวงมหาดไทย ได้ออกกฎหมาย จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง โดยมีหน้าที่ในการจัดสรรที่ดินให้กับประชาชนเพื่อทำมาหากินอยู่ดั้งเดิม และกลุ่มกรรมกรสามล้อถีบในกรุงเทพมหานคร เพื่อลดความแออัดในกรุงเทพมหานคร และลดปัญหาไม่่มีที่ทำกิน โดยจัดสรรเป็นแปลง แปลงละ ๒๕ ไร่ ต่อมาหน่วยงานราชการได้เล็งเห็นถึงปัญหาโจรผู้ร้ายที่ชุกชุมมากในสมัยนั้น ดังนั้น ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ จึงได้มีการยกระดับพื้นที่บางส่วนของตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท บางส่วนของอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี บางส่วนของอำเภอโคกสำโรง และบางส่วนของอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอพัฒนานิคม ขึ้นกับจังหวัดลพบุรี โดยมีพื้นที่ปกครองเริ่มแรก จำนวน ๕ ตำบล คือ ตำบลดีลัง ตำบลโคกสลุง ตำบลมะนาวหวาน ตำบลช่องสาริกา และตำบลพัฒนานิคม ตำบลช่องสาริกา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพืชไร่สำคัญได้แก่ ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ทานตะวัน ถั่ว ฟักทองและข้าว ประกอบอาชีพในสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีความสมบูรณ์และมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น ถ้ำเอราวัณ ถ้ำเทวาพิทักษ์ วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ทุ่งทานตะวัน โดยมีเขตการปกครอง ๑๓ หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ ๑ บ้านสาริกาพัฒนา | หมู่ ๘ บ้านหนองโพธิ์ |
หมู่ ๒ บ้านด่านกระเบา | หมู่ ๙ บ้านปากช่องสาริกา |
หมู่ ๓ บ้านน้ำซับ | หมู่ ๑๐ บ้านคลองตะเคียน |
หมู่ ๔ บ้านโคกสะอาด | หมู่ ๑๑ บ้านห้วยสงบ |
หมู่ ๕ บ้านหลุบเลา | หมู่ ๑๒ บ้านช่องสาริกา |
หมู่ ๖ บ้านตอยาง | หมู่ ๑๓ บ้านถ้ำบ่อทอง |
หมู่ ๗ บ้านซับตะเคียน |
เส้นทางการพัฒนาตำบล
เส้นทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลช่องสาริกา อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี มีระยะพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง และมีการรูปธรรมในากรดำเนินงานอย่างชัดเจน ซึ่งการขับเคลื่อนจากการพัฒนากลไกภายใน เชื่อมประสานกับกลไกภายนอกให้เกิดการขับเคลื่อนงานในตำบลให้เกิดความเข้มแข็งองค์การบริหารส่วนตำบลช่องสาริกา ได้มีการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาชุมชน ที่เกิดขึ้นจากการจัดการกับปัญหาและความต้องการของชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อนโยบายของส่วนกลาง โดยเส้นทางการพัฒนาสามารถสรุปได้เป็น $ ระยะ คือ (๑) ยุคก่อตั้งและสร้างชุมชน (ระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๑ - ๒๕๐๕) (๒) ยุคพัฒนาและเกิดการเปลี่ยนแปลง (ระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๖ - ๒๕๕๑) และ (๓) ระยะที่ ๓ ยุคการจัดการตัวเอง และต่อยอดการพัฒนา (ระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๒ - ปัจจุบัน) มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ระยะที่ ๑ ยุคก่อตั้งและสร้างชุมชน (ระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๑ - ๒๕๐๕)
ตำบลช่องสาริกา เป็นตำบลเกิดขึ้นใหม่ในช่วงมีการจัดสรรที่ดิน สมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามสันนิษฐานว่าชุมชนแห่งนี้เกิดจากการอพยพถิ่นฐานมาจากจังหวัดอื่น ๆ ใกล้เคียงและกรรมกรสามล้อถีบจากกรุงเทพมหานคร เพื่อมาตั้งถิ่นฐานและสร้างที่พักอาศัย และมาหาที่ดินทำกิน โดยกรมประชาสงเคราะห์กระทรวงมหาดไทย ได้จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยแยกเอาตำบลต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับอำเภอพระพุทธบาท ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการนิคมสร้างตนเอง โดยนิคมสร้างตนเองแห่งนี้มีหน้าที่จัดสรรที่ดิน ให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินทำกิน หลังจากจัดสรรที่ดินให้แก่ราษฎรดังกล่าวแล้ว ปรากฎว่ามีโจรผู้ร้ายชุกชุมรบกวนความสงบสุขของสมาชิกนิคมสร้างตนเอง กระทรวงมหาดไทยจึงรวมเขตท้องที่ีอำเภอต่าง ๆ ในเขตจังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี และประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอ พัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยแยกหมู่บ้านที่ ๖,๘,๙,๑๐,๑๑,๑๒,๑๓ และ ๑๔ ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาทจัดตั้งเป็นตำบลช่องสาริกา โอนตำบลหนองบัว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โอนตำบลโคกสลุง ตำบลมะนาวหวาน อำเภอชัยบาดาล และโอนตำบลดีลัง อำเภอโคกสำโรง มาขึ้นในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอพัฒนานิคมเช่นเดียวกัน ดังนั้นกิ่งอำเภอพัฒนานิคม จึงมีเขตการปกครอง ๕ ตำบล รวม ๓๐ หมู่บ้าน ตัวกิ่งอำเภอ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๖ ตำบลดีลัง ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอพัฒนานิคมเป็นอำเภอพัฒนานิคม เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ปัจจุบันได้แบ่งการปกครองตำบลออกเป็น ๙ ตำบล ๘๙ หมู่บ้าน
โดยคำว่า "พัฒนา" หมายถึงความเจริญงอกงามได้รวมเอาชื่อเดิมของนิคมสร้างตนเองไว้ด้วยเป็น "พัฒนานิคม" สมัยก่อนเมื่อเป็นกิ่งอำเภอใหม่ ๆ เส้นทางคมนาคมเป็นถนนดินตลอดเมื่อถึงฤดูฝนการคมนาคมไม่สามารถติดต่อกันโดยให้ยานพาหนะได้ เมื่อถึงฤดูแล้งก็ขาดแคลนน้ำ เพราะอยู่ในที่สูง และพื้นที่บางส่วนเป็นดินทรายมีสภาพเหมือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ระยะที่ ๒ ยุคพัฒนาและเกิดการเปลี่ยนแปลง (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๕๑)
ปี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๘ มีการพัฒนามาเป็นตามยุคสมัยของการพัฒนา เกิดมีถนนลาดยางสาย ๒๑ คือเส้นสระบุรี-หล่มสัก ผ่านตำบลช่องสาริกาได้มีการเปลี่ยนแปลงทำให้ตำบลช่องสาริกา จึงทำให้เกิดความเจริญในเรื่องของถนนลาดยางแต่ในสมัยนั้นก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเท่าที่ควรเป็นแค่ถนนลูกรังปนดิน เพราะตำบลช่องสาริกา ไม่มีผู้นำที่เป็นทางการมีแต่ประธานสภาตำบลเพราะตอนนั้นยังไม่เกิด องค์การบริหารส่วนตำบลช่องสาริกาทำให้ยังไม่เจริญแต่ในสมัยนั้น มีอยู่ ๕ ท่านที่เป็นกำนันสร้างความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ได้แก่ คนแรก กำนันยูร โครงสร้างยังไม่ดีเท่าที่ควร คนที่ ๒ ได้แก่กำนันวี เกตุพันธ์ คนที่ ๓ กำนันมี สุขสว่าง เริ่มมีโครงสร้างที่ดีบาง คนที่กำนันกมล นามวงษ์ ได้ทำให้โครงสร้างดีขึ้น และคนสุดท้าย กำนันสุรพรรณ เจริญสุข
ระหว่าง ปี ๒๕๑๘ - ๒๕๓๐ ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้น เช่น มีไฟฟ้า ประปา ถนนลาดจากดินก็เป็นลูกรังแต่ยังไม่มีลาดยาง ปี ๒๕๒๑ ได้มีไฟฟ้าเกิดขึ้น แต่ก็เล็ก ๆ น้อยเท่านั้นยังไม่มีไฟฟ้าเท่าที่ควรและในการใช้ไฟฟ้าก็ต้องเรี่ยรายเงินชาวบ้าน บ้านละ ๓,๗๐๐ บาท แต่ไม่ได้ทุกครัวเรือน โดยไฟฟ้าเริ่มต่อจากถนนสาย ๒๑ เข้ามาในหมู่บ้านต่าง ๆ ช่วงรอยต่อในสมัยกำนันมล นามวงษ์ และกำนันสุรพรรณ เจริญสุข ก็ยังได้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมากมายซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าโรงปูนคุณภาพ แต่ชื่อใหม่ชื่อว่าโรงปูนสุธากัน และก็เกิดโรงงานเบทาโกร โรงงานมหพันธ์ ไฟเบอร์ซีเมนต์ โรงโม่หิน ตามมา และชาวบ้านเกิดการต่อต้านว่าไม่รับโรงงานเหล่านี้เพราะมันทำให้เกิดมลพิษให้แก่ชาวบ้าน แต่สู้เสียงประชามติของชาวบ้านไม่ไหวโรงงานบางแห่งก็ถดถอยไปบางโรงงานก็เกิดขึ้นเพราะเป็นการพูดคุยในเรื่องของผู้นำตำบลการเคลื่อนไหวเริ่มต้นด้วยการยื่นหนังสือคัดค้านไปยัง อบต. จากนั้น อบต. ก็เป็นตัวแทนเจรจา ขอให้ยุติโครงการ แต่ผู้ประกอบการได้ทำเรื่องร้องเรียนไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรีเพื่อให้พิจารณาอีกครั้ง มีการส่งเรื่องกลับมายัง อบต. จนถึงต้นปี ๒๕๔๘ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรีอนุมัติให้ก่อสร้างโรงงานได้ เพราะเห็นว่าภูเขาหินปูนไม่มีความสำคัญในแง่การอนุรักษ์
ระหว่างปี ๒๕๓๐ - ๒๕๔๒ เป็นช่วงรอยต่อของกำนันสุรพรรณ ยังไม่ได้เรียกว่านายก แต่เรียกว่าประธานบริหาร และปี ๒๕๓๐ นายดนตรี สุขสว่าง ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลช่องสาลิกาคนแรก และได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับตำบลช่องสาริกาเพิ่มมากขึ้นโดยมีการพัฒนา ถนนลาดยาง ไฟฟ้า นำประปาขึ้นทำให้เกิดความเจริญในตำบลช่องสาริกาแต่ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของการอนุรักษ์ถ้ำเขาเอราวัณ แต่ชาวบ้านก็เกิดการคัดค้านการสร้างโรงงานต่าง ๆ อยู่เรื่อยมาจนเมื่อปี ๒๕๕๑ ก็เป็นผลสำเร็จ ก็ได้มีกลุ่มอนุรักษ์ถ้ำเขาเอราวัณขึ้น
ระยะที่ ๓ ยุคการจัดการตัวเอง และต่อยอดการพัฒนา (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน)
ยุคนี้ความเจริญในตำบลช่องสาริกาก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ การพัฒนาในยุคนี้เป็นการพัฒนาตำบลที่เน้นในเรื่องการทำงานแบบบูรณาการให้เข้ากันกับทุกภาคส่วนในชุมชน ในการสร้างการมีส่วนร่วมและการให้ชุมชนพึ่งตนเอง เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ครอบคลุมในทุกด้าน โดยใช้หลักการพัฒนาตำบล ๓ ฐานคิด คือ ๑.การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมภายใต้การพัฒนาแบบมีองค์รวม ๒.มุ่งเน้นการพัฒนาโดยใช้หลักความยุติธรรม ๓.การลงพื้นที่เชิงลึกเพื่อการเข้าถึงความต้องการของชุมชน เกิดการทำงานระหว่างภาคส่วนอย่างสม่ำเสมอจนเกิดการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายโดยการทำงานทำงานจะเป็นการประสานงานระหว่าง ภาคประชาชน ภาคท้องที่ และองค์กรภายนอกในช่องนี้การพัฒนาแต่ละแหล่งมาจากความหลากหลายในวิถีชุมชนที่ตระหนักถึงความสำคัญต่อสุขภาพ การฟื้นฟูภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งต้องการให้ประชาชน มีอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการออมประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายเงินกองทุนหมู่บ้าน ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และการออมเพิ่มมากขึ้น มีการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำ และคนในชุมชน ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งภายในชุมชน และภายนอกชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานให้กระจายครอบคลุม ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งภายในชุมชนและภายนอกชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานให้กระจายครอบคลุม ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างให้คนตำบลช่องสาริกา “มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข” การเป็นหมู่บ้านจัดการตนเอง เช่น หมู่บ้านสีขาว ที่มีการบริหารจัดการในด้านของสิ่งเสพติด ที่ชาวบ้านร่วมกัน ลด ละ เลิก ละขจัดไม่ให้มีและเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เนื่องจากสามารถปฏิบัติตามกฎ ข้อบังคับ ของชุมชน การอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลายทางวิถีชุมชน ในช่วงของการพัฒนาในยุคนี้ มีการพัฒนาดโครงสร้างพื้นฐานของตำบลเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการขึ้นพื้นฐานทั่วไปได้ทุกครัวเรือน
ตำบลช่องสาริกาตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี มีเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลพัฒนานิคม และตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลพุคำจาน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลชอนน้อย อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
โดยมีพื้นที่ ๘๑.๑๖ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๐,๗๒๕ ไร่ มีจำนวนหมู่บ้านในการปกครอง ๑๓ หมู่บ้าน ๕,๘๓๘ ครัวเรือน มีประชากร จำนวน ๙,๘๒๘ คน เป็นชาย ๔,๗๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๓๖ เป็นหญิง ๕,๑๑๗ คน คิดเป็น ๕๑.๖๔ ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลช่องสาริกา ร้อยละ ๘๕.๐๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ทานตะวัน ฟักทอง
รองลงมาร้อยละ ๒๗.๐๐ ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงโคนม โคเนื้อ ไก่ ตำบลช่องสาริกาเป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีผลผลิตรวมให้แก่เกษตรกรสูงสุด คือ ข้าวโพด, มันสำปะหลัง, อ้อย, ฟักทอง
![]() |
![]() |
![]() |
และมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีความสมบูรณ์และมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น ถ้ำเอราวัณ ถ้ำพรหมสวัสดิ์ ทุ่งทานตะวัน เป็นต้น
โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมของตำบลช่องสาริกาจะเป็นพื้นที่ที่มีบริษัท และโรงงานอุตสาหกรรม เข้ามาตั้งฐานการผลิตอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก แต่ด้วยลักษณะเด่นของตำบลช่องสาริกาในการบริหารจัดการที่ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ระหว่างชุมชนกับบริษัท และโรงงานอุตสาหกรรม ในลักษณะแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและยังคงรักษาไว้ด้วยวิถีชีวิตของชุมชน จึงทำให้ชุมชนแห่งนี้มีองค์กร หน่วยงานและบุคคลภายนอกให้ความสนใจแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมเยือนเพื่อสัมผัสวิถีชีวิตของคนตำบลช่องสาริกาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งตำบลช่องสาริกายังมีการทำงานร่วมกันขององค์กรในพื้นที่ ๓ ภาคส่วนหลัก ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลช่องสาริกา องค์กรท้องที่ (กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน) และองค์กรภาคประชาชน (แกนนำกลุ่ม, แหล่งเรียนรู้) รวมถึงหน่วยงานภาครัฐทั้งภายในตำบล เช่น โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หน่วยงานภายนอกตำบล เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพัฒนานิคม สำนักงานเกษตรอำเภอพัฒนานิคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นต้น รวมถึงหน่วยงานองค์กรเอกชนที่ให้การสนับสนุนการพัฒนา ศักยภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าตำบลช่องสาริกามีศักยภาพในการทำหน้าที่เป็น “กลไกขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”
![]() |
![]() |